top of page

บทที่ 1

บทที่ 1: Testimonials

        บทนำ  

           ในปัจจุบันพบว่าสังคมไทยผู้คนมีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือปัญหาขยะพลาสติกที่ย่อยสลายยากจากแผ่นกันกระแทกชนิดพอลิเอทิลีน ทางคณะผู้จัดทำจึงเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำวัสดุทางธรรมชาติที่หาได้ง่ายอาทิเช่น ใยมะพร้าว และน้ำยางพารามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำมาทำเป็นแผ่นกันกระแทกสำหรับกันกระแทกสิ่งของที่แตกหักง่ายในการขนส่งเพื่อลดต้นทุนในการผลิต

           ทางคณะผู้จัดทำสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาแผ่นกันกระแทกจากยางพาราผสมเส้นใยมะพร้าว วัตถุประสงค์ในการทำเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของแผ่นกันกระแทกให้ดีขึ้นและลดต้นทุนในการผลิตและเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกยางพาราของไทยให้มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูครอบครัวมากขึ้น เมื่อนำแผ่นกันกระแทกที่ผลิตได้ไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่า เมื่ออัตราส่วนของเส้นใยมะพร้าวเชิงเคมีเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของแผ่นกันกระแทกจะเพิ่มขึ้นด้วย การดูดน้ำและการซับน้ำเพิ่มขึ้น คุณสมบัติทางกลพบว่า ความแข็งแรงดึง ความเค้นแรงดึงเพิ่มขึ้น และความเครียดแรงดึงลดลง และเมื่อเติมน้ำยางพาราในอัตราส่วนต่างๆ จะให้ผลคุณสมบัติทางกายภาพทำนองเดียวกับเมื่อเติมเส้นใยมะพร้าวเชิงเคมี คุณสมบัติทางกลพบว่า เมื่อเติมน้ำยางพาราจนทำให้มีแผ่นกันกระแทกความแข็งแรงดึงและความเค้นแรงดึงสูงขึ้น แต่ความเครียดแรงดึงลดลง และเมื่อนำแผ่นกันกระแทกไปศึกษาลักษณะที่ปรากฏ พบว่าเมื่อปริมาณเส้นใยมะพร้าวเชิงเคมีและน้ำยางพาราเพิ่มขึ้น ฟองอากาศบนผิวหน้าของแผ่นกันกระแทกก็จะลดลง

bottom of page